หลังจากที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 83,704 รายและเสียชีวิต 2,859 ราย ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 41 ราย อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก (ข้อมูลอัพเดทจาก WHO ณ วันที่ 28 ก.พ. 63) หากมีการประกาศยกระดับเป็นเฟส 3
หรือเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการระบาด ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในประเทศขณะนี้ยังไม่ถึงกับเฟส 3 แต่ก็ต้องเตรียมการไว้ก่อนเพราะเกรงว่าจะเหมือนประเทศเกาหลีใต้ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาคนติดเชื้อแต่ไม่ยอมเข้ารักษาตัว ทำให้เชื้อแพร่ระบาดไปรวดเร็ว ซึ่งทางรัฐบาลไทย ได้ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็น “โรคติดต่อร้ายแรง” ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในการระบาดระดับที่ 2 เท่านั้น เพื่อเพิ่มมาตรการให้ประชาชนไม่สามารถปฏิเสธการตรวจหรือการรักษาได้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานง่ายขึ้น โดยประกาศให้ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 อีกทั้งยังมีการประกาศกลุ่มประเทศเสี่ยงให้เลี่ยงเดินทางไปทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี และอิหร่าน โดยยังสามารถไปกลุ่มประเทศดังกล่าวได้หากจำเป็น และหากไม่มีเหตุด่วนขอให้เลื่อนเดินทางไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวก่อน
อย่างไรก็ตาม คำถามที่สำคัญก็คือ หากมีการประกาศเป็นระดับ 3 เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ระดับ 3 คืออะไร? แนวทางในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคจริงๆ แล้วมีทั้งหมดกี่ระดับ และการที่มีการประกาศเป็นระดับ 3 จะต้องป้องกันตัวเองอย่างไร ?
สำหรับการแบ่งระดับความรุนแรงนั้นแบ่งตามระดับความรุนแรงของการแพร่กระจาย ซึ่งในแต่ละขั้นจะมีการระบุความรุนแรง วงการของการแพร่กระจ่ายเชื้อ โดยจะแบ่งเป็น 3 ช่วง 6 ระดับคือ
ระยะที่ 1 Interpandemic period
-
เฟสที่ 1 เป็นระดับที่ยังไม่พบการติดเชื้อในมนุษย์ มีการพบการติดเชื้อในสัตว์ และมีการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนในระดับต่ำ
-
เฟสที่ 2 เป็นระดับที่ยังไม่พบการติดเชื้อในมนุษย์ แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่เชื้อจะแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้สูงกว่าเฟส 1
ระยะที่ 2 Pandemic alert period
-
เฟสที่ 3 เป็นระดับที่เกิดการติดเชื้อในคน และพบการติดเชื้อจากคนสู่คนจากการสัมผัสแบบใกล้ชิด
-
เฟสที่ 4 เป็นระดับที่มีการติดเชื้อจากคนสู่คนแต่มีการระบาดในวงจำกัด เชื้อไวรัสยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับร่างกายคนได้ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก จึงทำให้ไม่เกิดการแพร่กระจายในวงกว้าง
-
เฟสที่ 5 เป็นระดับที่มีการติดเชื้อจากคนสู่คน และมีการแพร่ระบาดในวงกว้างขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในวงที่จำกัด เนื่องจากไวรัสปรับตัวให้เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดีขึ้น
ระยะ 3 Andemic period
- เฟสที่ 6 เป็นระดับที่มีการติดเชื้อในคนสู่คนมากขึ้นและรุนแรง เนื่องจากเชื้อไวรัสมีการปรับตัวมากขึ้นจนเกิดการระบาดใหญ่
โดยการที่ประเทศไทยจ่อเข้าสู่ระดับ 3 เป็นการติดเชื้อในคนสู่คนจากการสัมผัสแบบใกล้ชิด เราจึงควรมีการป้องกันตัวเองดังนี้
-
สวมหน้ากากอนามันตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ และสวมใส่ให้ถูกวิธี ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
-
พกเจลล้างมือ ล้างมือบ่อยๆ หลังจากที่มีการสัมผัสพื้นที่ผิวที่ไม่สะอาดซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคเกาะอยู่ หลีกเลี่ยงการนำมือมาจับหน้า
-
กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือก่อนทานอาหารเสมอ
-
ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอ จาม และหากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
-
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และมีมลภาวะเป็นพิษ รวมถึงพื้นที่ที่อากาศปิดเป็นระยะเวลานาน
นอกจากนี้ ยังมีวิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันง่ายๆ เพื่อต้านไวรัสได้อีกด้วย คือ
- ออกกำลังกายทุกวัน
- ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ
- นอนหลับให้พอ
- เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
- กินวิตามินซี
- ออกไปรับแสงแดดบ้า
- อย่าละเลยธาตุสังกะสี
- ทำจิตใจให้ผ่องใส่ ลดความเครียด